วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สีของเหยื่อปลอมกับการมองเห็นของปลา !!!


สีของเหยื่อปลอมกับการมองเห็นของปลา
               สวัสดีครับ หลายๆท่านที่ตกปลาเหมือนกับผม ( เอาเฉพาะการตีเหยื่อปลอมก่อนนะครับ ) พวกเพื่อนๆทุกคนมีวิธีเลือกสีของเหยื่อปลอมกันอย่างไรครับ?? จะเลือกสีสมจริงคือลักษณะสีเหมือนปลาเหยื่อจริงๆทุกประการ หรือ จะเลือกสีสันสดใสแสบทรวงให้ ปลาเห็นแล้วสะดุ้งรีบว่ายเข้ามาฉวยเหยื่อกันดีหล่ะครับ บางสีก็น่ากิ๊นน่ากิน ขนาดที่ผมว่าถ้าผมเป็นปลาผมคงจะรีบกินไอ้เจ้าตัวนี้แน่นอนแต่พอซื้อมาลองใช้ดู เหมือนผมกับปลาจะมีรสนิยมการเลือกเหยื่อไม่เหมือนกันเล๊ย เลยแห้วไปหลายครั้ง แต่เพื่อนๆเป็นเหมือนกับผมบ้างมั๊ยครับ?? เหยื่อสวยๆเหมือนลูกปลาเด๊อะๆ แต่ก็แห้ว แต่บางทีเอาเหยื่อเน่าๆสีดำๆ สีถลอกๆ เก่าเก็บ( ไม่รู้หมาน หรือ เก็บในกล่องชนไปชนมาสีถลอกกันแน่) ตีลงไปกับกินดี๊ดี เยอะมันยังๆกันแน่นะ เมื่อเกิดความสงสัยเราก็ต้องค้นคว้าหาคำตอบครับ …. จากการศึกษา ทั้งเว๊ปไทยและเว๊ปนอก ผมก็ได้ใจความโดยรวมว่า
                การที่ปลาจะมองเห็นสีของเหยื่อได้ชัดเจนหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบหลักๆด้วยกัน  4 ประการครับ
1.      สีของน้ำ : หากน้ำในหมายที่เราตกปลา มีเป็นน้ำที่ขุ่น การเลือกสีที่ เป็นพวกสีเงินโครเมียม หรือ สีทองโครเมียม หรือ สีจำพวกเงินๆ จะดีมากๆ เพราะ เวลาเราลากเหยื่อ สีเงินจะกระทบกับแสงแดด ส่องเป็นประกายวิบๆวับ เหมือนเกล็ดลูกปลา
            แต่ถ้าหมายที่เราจะตก เป็นน้ำที่ใส่ หรือออกสีเขียวๆ เล็กน้อย เราก็สามารถเลือกสีที่สดๆ เจ็บได้ เพราะ (อ้างอิงเว๊ปต่างประเทศนะครับ) สีของน้ำเป็นเสมือนม่าน หรือ เลนส์แว่นกันแดดที่บังตาของปลาอยู่ โดยรวมแล้ว ปลาไม่ได้มองเห็นเหยื่อเป็นรูปเป็นร่าง ปลาเหมือนที่เรามองเห็น แต่ะจะเห็นเป็นลักษณะ ของภาพลวงตา หรือกลุ่มสีเป็นก้อนๆ วับๆแวมๆ เท่านั้น จะไม่ได้ใส่ปิ้งเหมือนที่เราเอาเหยื่อไปหย่อนดูในตู้ปลานะครับ
2.      ระดับความลึกของน้ำ อันนี้จะเห็นผลได้อย่างชัดเจน เวลาเราไปตกปลาตามเขื่อน หรือ เอาเหยื่อปลอมไปลากที่ทะเล ความลึกของน้ำจะส่งผลให้ปลามองเห็นสีของเหยื่อยิ่งผิดเพี้ยนไปจากที่เราเห็น กล่าวคือ เมื่อระดับน้ำยิ่งลึกเท่าไหร่ ก็จะมืดมากขึ้นเท่านั้น หากน้ำลึกและมีแสงแดดน้อยมากๆถ้าเราใช้เหยื่อที่เป็นตัวสีใส(ที่เรามองบนบกแล้วเหมือนลูกปลามากๆ ) แต่พอลงน้ำสีใส่นี้จะกลืนไปกลับสีน้ำ ทำให้ปลามองเห็นเหยื่อของเราได้ยากยิ่งขึ้น และในบางครั้ง หากถึงความลึกระดับหนึ่ง เหยื่อจากสีม่วง ที่เราเห็น ปลาจะเห็นเป็นเงาสีดำๆเท่านั้น ฉะนั้นหากเราจะต้องไปตกปลาที่เขตน้ำลึก ควรเลือกเหยื่อที่มีสีสันสดใส เห็นได้ชัดเจน และ ควรคำนึงถึงระดับควมลึกให้มากๆ ด้วยนะครับ
3.      องค์ประกอบฉากหลัง หรือ แบล็กกราวที่เหยื่อว่ายผ่าน : ในกรณีน้ำอาจยกตัวอย่างง่ายๆว่า ถ้าเหยื่อที่เราใช้ว่ายผ่าน แนวกองหิน สีแบล็กกราวก็จะเป็นสี โทนเทา หรือ น้ำตาล หากเราเลือกใช้เหยื่อที่ กลืนกันไปกับแบล็กกราว ปลานักล่าก็อาจจะมองไม่เห็น หรือ อาจจะเห็นเหยื่อเราไม่ชัด แต่กลับกัน หากเราเลือกใช้เหยื่อที่มีสี แดงขาว ซึ่งเป็นสีสว่าง ปลาก็จะเห็นเหยื่อของเราได้ชัดเจนขึ้นครับ
4.      สภาพอากาศ : ในส่วนนี้ สภาพอากาศจะมีต่อแสงแดดที่ส่องถึงลงมาในน้ำ หากวันนั้นมีฝ้าครึ้ม เมฆมาก แสดงแดดก็จะมีน้อย ส่งผลให้ เหยื่อสีเงินๆ ที่เราเลือกใช้ไม่ได้รับแสงแดดสะท้อนเท่าที่ควร สีของเหยื่อก็อาจจะผิดเพี้ยนไป

n  เอาหละครับ จากที่ผมได้สรุปมาแล้ว จะเห็นได้ว่า แม้เราจะไปหมายเดิม และ เลือกใช้เหยื่อตัวเดิม ที่ตำแหน่งเดิม ผลที่ออกมาก็อาจจะไม่เหมือนเดิมก็ได้นะครับ หากเราทราบถึงองค์ประกอบหลักๆ และ สิ่งที่เราควรให้ความสำคับเพิ่มขึ้นแล้ว เราก็อาจจะแก้ไขปรับเปลี่ยน วิธีการเลือกซื้อเหยื่อของเราได้คุ้มค่า และ ให้ผลลัพทธ์ได้ดียิ่งขึ้นนะครับ …. ผมไม่ได้บอกว่า การที่คุณเลือกสีเหยือได้ถูกตอ้งเหมาะสมแล้ว จะได้ผล100%ทั้งหมดทุกคนนะครับ เพราะ สีของเหยื่อก็เป็นเสมือนองค์ประกอบอีกเพียงอีกอย่างหนึ่ง ของทั้งหมด แต่แม้จะมีอีกหลายๆองค์ประกอบที่ทำให้ดูวุ่นวาย ผมว่าอันนั้นก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการตกปลา ไม่มีอะไรที่แน่นอนตายตัว มีเพียงสิ่งที่เราพอจะค้นหาและศึกษา ทดลอง + โชคอีกนิดหน่อย เพื่อให้ทริปนี้จะได้ ”ไม่ต้องขุดแห้ว” บ้านมาอีกก็พอ
n  หวังว่าสิ่งที่ผมได้บอกเล่าไปจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆนักตกปลาบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น