วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รวมสายพันธุ์ปลานักล่าในประเทศไทย (Introduction game fish popular in Thailand)

รวมสายพันธุ์ปลานักล่าในประเทศไทย (Introduction game fish popular in Thailand)

   ประเทศไทย ขึ้นชื่อเรื่อง มีกีฬาการตกปลา ที่หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็น การตกปลาด้วยเหยื่อปลอม หรือ เหยื่อสด ( ขนมปัง รำ หนอน ไส้เดือน กุ้งฝอย และอื่นๆ ) เพราะมีบ่อตกปลา และ หมายธรรมชาติ ให้เลือกตกได้หลากหลาย 
   มีการตกปลาขนาดเล็ก ด้วยชุดอุปกรณ์ขนาดเล็กได้อย่างสนุกสนาน ตั้งแต่ การตกปลาเกล็ดเล็กๆ จำพวกปลานิล , ปลาดุก , ปลาตะเพียน ,ปลาญี่สก ,ปลานัวลจันทร์ , ปลาหมอ ด้วยขนมปัง , ไส้เดือน , กุ้งฝอย เป็นต้น
    หรือ หากท่านสนใจการตกปลาด้วยเหยื่อปลอม ก็มีหมายะรรมชาติ และ บ่อตกปลาให้เลือกมากมาย ปลาท่นิยมตกกันด้วยเหยื่อปลอมในประเทศไทย อาทิเช่น ปลากระพง , ปลากราย , ปลาเปคู , ปลาช่อน , ปลาชะโด , ปลากระสง (เริ่มมีให้เห็นในประเทศไทยมากขึ้น ) , ปลากระสูบ , ปลากดคัง , ปลาอะราไพม่า และปลานักล่าประเภทอื่นๆ
   แต่หากท่านต้องการ สู้กับปลาขนาดใหญ่ ด้วยคันเบ็โและชุดอุปกรณ์ขนาดใหญ่  บ่อตกปลาช่อดังในประเทศไทย ก็มี ปลาบึก , ปลาสวาย , ปลากระโห้   สุดยอดปลามอนสเตอร์ขวัญใจนักตกตะกร้อ เพราะน้ำหนักขั้นต่ำ ก็มีตั้งแต่ ตัวละ 7-15 กิโล หรือ น้ำหนักมากๆ ถึง 80-90 กิโล กันเลยทีเดียว

เพราะฉะนั้น ทางร้าน "หทัยฟิชชิ่ง" ทุกสาขา ขออธิบาย ประวัติของสายพันธุ์ปลานักล่า ขวํญใจนักตกปลาทั่วโลกกันอย่างคราวๆก่อนนะครับ 

-----------------------------------------------------------------

ปลาบึก  ( Mekong Giant Catfish )

ปลาบึก (อังกฤษMekong Giant Catfishชื่อวิทยาศาสตร์Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก


ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pangasinodon[1] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ
ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช"
ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมและได้ลูกออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศ อาทิเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา
-----------------------------------------------------------------

ปลาสวาย (Pangasiidae) 



ปลาสวาย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius hypophthalmus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก (Pangasianodon gigas) รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร
พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพ (P. larnaudi) เข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม 

-----------------------------------------------------------------

ปลากะโห้ ( Siamese giant carp)
ปลากระโห้ (อังกฤษSiamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย[1] โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม
       มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamensis จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียว ที่อยู่ในสกุล Catlocarpio[2] มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก ไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนหัวจะโตมากและลำตัวค่อนไปทางหาง ทำให้แลดูคล้ายปลาพิการไม่สมส่วน ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ ครีบหลังและครีบหางใหญ่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมลำตัว บนเพดานปากมีก้อนเนื้อหนา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคล้ำอมน้ำเงินหรือน้ำตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อ ๆ ด้านท้องมีสีจาง


พบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังน้ำลึก ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วเป็นบางส่วนจากการผสมเทียม ในธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยจะวางไข่ลอยไปตามกระแสน้ำ ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะกึ่งลอยกึ่งจม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4 มิลลิเมตร ปริมาณไข่จะมีจำนวนมากนับล้าน ๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ
อาหารของปลากระโห้คือ แพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก แต่ก็สามารถกินพืชเช่น สาหร่ายหรือเมล็ดพืชได้
ปลากระโห้นอกจากนำมาทำเป็นอาหารโดยการปรุงสดแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
นอกจากชื่อกระโห้แล้ว ในภาษาอีสานจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "คาบมัน" หรือ "หัวมัน" ภาษาเหนือเรียกว่า "กะมัน" ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เรียกว่า "ปลาสา

-----------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น