วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รวมสายพันธุ์ปลานักล่าในประเทศไทย2 (Introduction game fish popular in Thailand)


รวมสายพันธุ์ปลานักล่าในประเทศไทย2 (Introduction game fish popular in Thailand)


รวมปลานักล่า ประเภทกินสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า

ปลาช่อน ( Channidae )


 ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striata อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร

โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้พม่าและอินโดนีเซียนิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง[1] เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ
ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา
ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "หลิม" ในภาษาเหนือ "ค้อ" หรือ "ก๊วน" ในภาษาอีสาน

---------------------------------------------------------------------------
ปลาชะโด ( Great Snakehead )


Great Snakehead


ปลาชะโด (อังกฤษGreat Snakehead, Giant Snakehead) เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน(Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน
โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว
นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"
เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซียอินเดียอินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย
ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาสะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ[1]
นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก

---------------------------------------------------------------------------

ปลากระสง (Blotched Snakehead )


                                               Blotched Snakehead

ปลากระสง (อังกฤษBlotched Snakehead, Forest Snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (C. striata) แต่มีส่วนหัวที่แบนกว่า จะงอยปากงอนขึ้นเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า สีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้ลูกปลาขนาดเล็กมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามแนวนอนตลอดตัว มีสีแดง
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่รวมถึงในบริเวณพื้นที่ป่าพรุด้วยทั่วประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน [1]
นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "กระจอน" ในภาษาอีสาน หรือ "ช่อนไช" ในภาษาใต้

---------------------------------------------------------------------------

ปลากราย  (Chitala ornata )

Chitala ornata

ปลากราย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 ก.ก.
มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาเหนือ
---------------------------------------------------------------------------

ปลาอะราไพม่า ( Arapaima gigas )


                                                                Arapaima gigas


ปลาอะราไพม่า หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ปลาช่อนยักษ์อเมซอน ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arapaima gigas ในวงศ์ปลาตะพัด(Osteoglossidae) อันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (Channa stiata) มาก เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีดำเงาเป็นมัน ครีบบน ครีบล่าง มีตำแหน่งค่อนไปทางหาง มีแถบสีแดง-ส้ม ตัดกับพื้นสีดำ มีลำตัวค่อนข้างกลมและเรียวยาว ส่วนหัวมีลักษณะแข็งและมีน้ำหนักมาก ส่วนลำตัวด้านท้ายมีลักษณะแบนกว้าง ในขณะที่ปลายังเล็กพื้นลำตัวจะมีสีเขียวเข้ม และลำตัวส่วนที่ค่อนไปทางหางจะเป็นสีดำ และรูปร่างจะออกไปทางทรงกระบอก เมื่อโตขึ้นบริเวณลำตัวและส่วนที่ค่อนไปทางหาง ครีบ และหาง จะปรากฏสีชมพูปนแดงหรือสีบานเย็นประแต้มกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อจวนตัว ปลาอะราไพม่าจะใช้ส่วนหัวที่แข็งพุ่งชนและกระโดดใส่เมื่อความรุนแรงเพื่อป้องกันตัว[1]
ปลาอะราไพม่า ไม่มีหนวดซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน และเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ไวมาก ภายในเวลาเพียง 1-2 ปี สามารถมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึง 3-5 เท่าได้ ปลาที่โตเต็มที่เท่าที่มีการบันทึกสถิติไว้คือยาว 4.5 เมตร น้ำหนักกว่า 400 กิโลกรัม
พบในแม่น้ำอเมซอนและลุ่มน้ำสาขาในทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า พิรารูคู (Pirarucu) ขณะที่ชาวพื้นเมืองที่ประเทศเปรูจะเรียกว่า ไพชี่ (Phiche) โดยปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ชาวพื้นเมืองใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ในบางท้องที่มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจ[2]
ปลาอะราไพม่ากินอาหาร ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ในบางครั้งสามารถกินสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็กกว่าที่อยู่บนบก เช่น ลิง หรือ สุนัข หรือ นก ด้วยการกระโดดงับได้อีกด้วย
---------------------------------------------------------------------------

ปลาเรดเทลแคทฟิช  ( Redtail catfish )


Redtail catfish

ปลาเรดเทลแคทฟิช (อังกฤษRedtail catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phractocephalus hemioliopterusในวงศ์ปลากดอเมริกาใต้ (Pimelodidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phractocephalus[1]

 


มีรูปร่างส่วนหัวแบนกว้างและใหญ่ ปากมีขนาดใหญ่ และอ้าปากได้กว้าง ภายในช่องปากจะมีฟันหยาบ ๆ สีแดงสด ซึ่งฟันลักษณะนี้จะใช้สำหรับดูดกลืนอาหารเข้าไปทั้งตัว โดยไม่เคี้ยวหรือขบกัด แต่จะใช้งับเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุดเท่านั้น บริเวณส่วนหัวมีจุดกระสีน้ำตาลหรือดำกระจายอยู่ทั่ว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง ส่วนท้องและด้านข้างลำตัวสีขาวหรือสีเหลือง ปลายหางและครีบหลังมีสีแดงจัด อันเป็นที่มาของชื่อ มีหนวดทั้งหมดสี่คู่ คู่แรกยาวที่สุดอยู่บริเวณมุมปาก หนวดอื่น ๆ อยู่บริเวณใต้คาง
ปลาเรดเทลแคทฟิช เป็นปลาที่หากินตามท้องน้ำ โดยกินอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าและสามารถกินได้ถึงขนาดที่เท่าตัวหรือใหญ่กว่าได้ ด้วยการกลืนเข้าไปทั้งตัวโดยไม่เคี้ยว เป็นปลาที่ตะกละ กินจุ กินไม่เลือก และเจริญเติบโตได้เร็วมาก โดยเฉพาะลูกปลา
พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอนโอริโนโค และเอสเซคิวโบ โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Cajaro และ Pirarara
มีขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1-1.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 51.5 กิโลกรัม
เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงกันเพื่อบริโภคแทนเนื้อปลาคัง (Hemibagrus wyckioides) ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านทดแทน เนื่องด้วยการที่เพาะขยายพันธุ์ง่ายและเติบโตเร็ว อีกทั้งเนื้อยังมีรสชาติดี และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ซึ่งจัดว่าเป็นปลาจากต่างประเทศที่มีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปีแล้ว มีราคาขายที่ไม่แพง ในปัจจุบัน ยังมีการผสมข้ามพันธุ์กับปลาในวงศ์เดียวกัน เช่น ปลาไทเกอร์โชวเวลโนส (Pseudoplatystoma fasciatum) เกิดเป็นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ หรือมีสีสันที่แตกต่างไปจากปลาดั้งเดิมอีกด้วย เช่น สีขาวล้วน หรือสีดำทั้งลำตัว หรือปลาเผือก ซึ่งปลาที่มีสีสันแปลกเช่นนี้จะมีราคาซื้อขายที่แพงกว่าปลาปกติมาก

---------------------------------------------------------------------------

ปลากดคัง  ( Asian Redtail Catfish )


 Asian Redtail Catfish

ปลากดคัง (อังกฤษAsian Redtail Catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckioides อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 กิโลกรัม แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือสีส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ปลากดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" เป็นต้น

---------------------------------------------------------------------------
ปลาจระเข้  ( Alligator gar )



ปลาจระเข้ (อังกฤษAlligator gar;ชื่อวิทยาศาสตร์:Lepisosteus spatula) เป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มปลาการ์[1] มีปากคล้ายกับจระเข้รูปร่างกลมยาว ตากลมสีดำ บริเวณลำตัวจรดหางคล้ายปลา มีครีบเล็กใต้ท้อง 2 ครีบคู่ ใต้ท้องสีขาว บริเวณปลายหาง ใกล้หางมีครีบใหญ่อีก 2 ครีบ เป็นปลาพื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา แถบฟลอริดา แถบลุ่มแม่น้ำมิซิซิปปี้ ขนาดเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 350 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 127กิโลกรัมมีอายุยืนยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น